กลยุทธ์ที่
|
จุดเน้นที่
|
ประกอบด้วย
|
1. การเพิ่มโอกาสให้ผู้เรียนเข้าถึงบริการการศึกษาระดับมัธยมศึกษาอย่างทั่วถึง
|
1. เพิ่มโอกาสการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ
|
๑.๑ ผู้เรียนได้รับการศึกษาอย่างมีคุณภาพจบการศึกษาตามหลักสูตรสถานศึกษาตามระยะเวลาที่กำหนด
1.2 ส่งเสริมการจัดการศึกษาในรูปแบบที่หลากหลาย และมีคุณภาพตามมาตรฐาน ให้เหมาะสม กับความต้องการจำเป็นของผู้เรียนแต่ละบุคคล โดยมีความเชื่อมโยงระหว่างรูปแบบต่างๆ ทั้งในรูปแบบปกติ รูปแบบเพื่อความเป็นเลิศ รูปแบบเพื่อผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษ และรูปแบบการศึกษาทางเลือก
1.3 ส่งเสริมและสนับสนุนให้สถานศึกษาที่จัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจัดการเรียนการสอนรายวิชาอาชีพ และระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจัดการศึกษาวิชาชีพ โดยสร้างความร่วมมือกับ สถานประกอบการหรือหน่วยงานอื่น
1.4 สนับสนุนให้ผู้เรียนที่จบหลักสูตรมัธยมศึกษา เข้าศึกษาต่อในสายสามัญ และสายอาชีพ
|
2. ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา
|
2.1 สนับสนุนให้สถานศึกษามีคุณภาพการศึกษาเท่าเทียมกัน โดยใช้เกณฑ์โรงเรียนมาตรฐานสากล บนพื้นฐานของความเป็นไทยตามศักยภาพของสถานศึกษา
2.2 สร้างความเข้มแข็งของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ระบบส่งเสริมความประพฤติ นักเรียน และระบบคุ้มครองนักเรียน รวมถึงการสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมให้เชื่อมโยงสัมพันธ์กับ เครือข่าย สหวิทยาเขต วิชาชีพทุกระดับ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
2.3 ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการจัดการศึกษาที่เหมาะสมสำหรับเด็กด้อยโอกาส เด็กพิการ เด็กที่มีความสามารถพิเศษ
|
2. การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนเทียบเคียงมาตรฐานสากล บนพื้นฐานความเป็นไทย
|
๑. เสริมสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
|
๑.๑ ปลูกฝังให้ผู้เรียนเป็นคนดี มีคุณธรรม จริยธรรม ตามค่านิยมหลักของคนไทย12 ประการ
1.2 พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามที่หลักสูตรกำหนด
๑.๓ ปลูกฝังจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย
1.4 ปลูกฝังจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
1.5 ปลูกฝังจิตสำนึกให้มีความรักชาติ เปนพลเมืองไทยและพลโลก ยึดมั่นในวิถีชีวิตและการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
|
2. เสริมสร้างความเข้มแข็งในการพัฒนาผู้เรียนอย่างมีคุณภาพ
|
2.1 ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร และภาษาต่างประเทศที่ 2
2.2 ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีสมรรถนะสำคัญตามหลักสูตร(ทักษะการคิด ทักษะการแก้ปัญหา ทักษะการสื่อสาร ทักษะชีวิต ทักษะการใช้เทคโนโลยี) และทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
2.3 ส่งเสริมสนับสนุนการนำผลการประเมินในระดับสถานศึกษาระดับชาติ (NT, O-NET) และระดับนานาชาติ (PISA) มาใช้พัฒนาการเรียนรู้ให้เกิดคุณภาพแก่ผู้เรียน
2.4 ส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน การเขียน และอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
|
3. เสริมสร้างสุขภาพจิต สุขภาพกายที่ดี และมีทักษะอาชีพ
|
3.1 ส่งเสริม พัฒนาผู้เรียน ตามหลักพหุปัญญา ด้านสุขภาพจิต สุขภาพกาย และทักษะอาชีพ
3.2 ส่งเสริมให้ผู้เรียน มีเป้าหมายชีวิต พัฒนาทักษะวิชาชีพตามความถนัดและความสนใจ
3.3 ส่งเสริมการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่หลากหลาย เช่น ลูกเสือ เนตรนารี แนะแนว ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ และห่างไกลยาเสพติด
|
3. การพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน
|
1. พัฒนากรอบหลักสูตรท้องถิ่น และหลักสูตรสถานศึกษา
|
๑.๑ ปรับปรุงกรอบหลักสูตรท้องถิ่นและหลักสูตรสถานศึกษาที่เทียบเคียงมาตรฐานสากลและสอดคล้องกับบริบท ความต้องการของผู้เรียน ชุมชน ท้องถิ่น สังคม โดยเน้นทักษะวิชาชีพ ควบคู่กับวิชาสามัญ
1.2 ออกแบบหน่วยการเรียนรู้ และจัดทำแผนการเรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับหลักสูตรสถานศึกษา และบูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
๑.3 ส่งเสริม สนับสนุนให้สถานศึกษา และครู ผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนการสอน เทคโนโลยี นวัตกรรม และแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายในการจัดการเรียนการสอน
๑.4 พัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผล ที่สามารถวัดและพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามศักยภาพเป็นรายบุคคล
|
2. พัฒนากระบวนการเรียนรู้
|
2.1 ส่งเสริมให้ครูใช้แผนการจัดการเรียนรู้เป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนการสอน
2.2 ส่งเสริมให้ครูออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนที่สร้างโอกาสให้ผู้เรียนทุกคนมีส่วนร่วมและสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรม
2.3 ส่งเสริมให้ครูใช้กระบวนการวัดและประเมินความรู้ความสามารถผู้เรียนอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ
2.4 ส่งเสริม สนับสนุนให้ครูใช้กระบวนการวิจัย ไปใช้ในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้เรียนให้เกิดคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
|
3. พัฒนาระบบนิเทศ
|
3.1 ส่งเสริมและสร้างความเข้มแข็งของระบบนิเทศภายในสถานศึกษา
3.2 ส่งเสริมและพัฒนาให้มีเครือข่ายการนิเทศ ระดับเขตพื้นที่การศึกษาและสหวิทยาเขต
|
4. พัฒนาคุณภาพข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
|
1. การจัดทำแผนกรอบอัตรากำลัง
|
1.1 จัดทำแผนอัตรากำลังของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ. กำหนด
1.2 การวิเคราะห์สภาพอัตรากำลังของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษาตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ. กำหนด
|
2. การพัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา
|
2.1 ส่งเสริมให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาจัดทำแผนพัฒนาตนเอง (ID – Plan)
2.2 ส่งเสริมให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับการพัฒนาสมรรถนะตรงตามสายงานความต้องการของตนเองและส่งผลให้งานมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล
2.3 ส่งเสริม พัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ
2.4 ส่งเสริม พัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้มีสมรรถนะด้านการเป็นผู้นำทางวิชาการ และด้านบริหารจัดการ
|
3. การสร้างระบบแรงจูงใจและขวัญกำลังใจข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
|
3.1 ส่งเสริมให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีความก้าวหน้าตามมาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิทยฐานะ
3.2 ส่งเสริม พัฒนาเครื่องมือ และวิธีการประเมินประสิทธิภาพประสิทธิผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
3.3 ยกย่องเชิดชูเกียรติข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีผลงานดีเด่นให้เป็นที่ประจักษ์
|
5. การพัฒนานวัตกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
|
1. ส่งเสริมการประยุกต์ใช้นวัตกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการบริหารจัดการและการจัดการเรียนการสอน ในยุคไทยแลนด์ 4.0
|
๑. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบเครือข่ายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ที่ทันสมัย มีความเสถียรและปลอดภัย เพื่อใช้บริหารจัดการ ได้แก่ การประชุม (Conference) การติดต่อสื่อสาร การนิเทศ การรายงานข้อมูล การสืบค้นข้อมูล การอบรมพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การวัดผลและประเมินผล ให้ครอบคลุม ทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ
๒. ส่งเสริม สนับสนุนให้สถานศึกษามีระบบเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัย และการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกล (DLIT)
๓. ส่งเสริมให้สถานศึกษาสร้างภาคีเครือข่ายในการระดมทรัพยากรพัฒนาด้านเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสารให้เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
๔. พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ ความสามารถ มีทักษะในการใช้
การผลิต การบำรุงรักษาสื่อ นวัตกรรม ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างสรรค์
|
6. พัฒนาระบบบริหารจัดการ
|
1. การกระจายอำนาจการบริหารจัดการ
|
๑.1 ส่งเสริม สนับสนุนการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม โดยมีกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพโรงเรียนมัธยมศึกษา สหวิทยาเขต ศูนย์พัฒนากลุ่มสาระการเรียนรู้และสาระการเรียนรู้ และสถานศึกษาเป็นฐาน 1.2 ส่งเสริม สนับสนุนการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ตามสายบังคับบัญชา
1.3 ส่งเสริมการบริหารงานด้านวิชาการเชิงพื้นที่ ตามสหวิทยาเขตและโรงเรียนที่รับผิดชอบ โดยรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และศึกษานิเทศก์
|
2. การมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
|
2.1 ส่งเสริม พัฒนาภาคีเครือข่าย สมาคมประธานคณะกรรมการสถานศึกษา สมาคมครูการศึกษาขั้นพื้นฐานจังหวัดสุรินทร์ สมาคมผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดสุรินทร์ เครือข่ายผู้ทรงคุณวุฒิทางการศึกษา ชมรมข้าราชการบำนาญ เครือข่ายสถาบันการศึกษาอื่น สถานประกอบการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานภาครัฐ และเอกชน
2.2 ส่งเสริม สนับสนุนการบริหารจัดการคุณภาพโรงเรียนขนาดเล็ก
|